การศึกษาระยะการสุกของมะม่วงน้าดอกไม้สีทองต่อคุณภาพของไซรัป อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ภาสุรี ฤทธิเลิศ หลักสูตร : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
งานวิจัยฉบับนี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของมะม่วงน้าดอกไม้สีทอง และไซรัปจากมะม่วงน้าดอกไม้สีทอง โดยน้าผลมะม่วงน้าดอกไม้สีทอง จากสวนมะม่วงของเกษตรกรในจังหวัดพิษณุโลก ที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 110 วันหลังดอกบาน ซึ่งมีความบริบูรณ์เต็มที่ น้ามาบ่มด้วยก๊าซเอทิลีน เป็นเวลา 2 วัน ที่อุณหภูมิห้องติดตาม การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของผลมะม่วงสุกทุกๆ 1 วัน เป็นระยะเวลา 6 วัน และ น้าผลมะม่วงสุกในทุกๆ วัน มาผลิตไซรัป ผลการทดลองพบว่าผลมะม่วงสุกมีสีผิวเปลือก มีค่าความเป็นสีแดงลดลง ค่า a* เป็นบวก และค่าสี b* เป็นสีเหลืองเพิ่มขึ น ในท้านองเดียวกับค่าสีของเนื อมะม่วง มีค่า a* เป็นบวก มีความเป็นสีแดงเพิ่มขึ น และค่าสี b* มีความเป็นสีเหลืองเพิ่มขึ น ค่าความเป็นกรด-ด่าง มีแนวโน้มเป็นด่างเพิ่มขึ นอยู่ในช่วง 4.01-5.44 ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้มีแนวโน้มลดลง จากร้อยละ 2.21 เป็น 0.39 ปริมาณของแข็งทั งหมดที่ละลายน้าได้อยู่ในช่วง 20.5 ถึง 21.2 องศาบริกซ์ และลดลงตลอดระยะเวลาการสุก 6 วัน ส่วนการผลิตไซรัปจากมะม่วงน้าดอกไม้สีทอง ในทุกๆ วัน พบว่าไซรัปที่ได้มีสีเหลืองอมน้าตาลใส มีค่าการส่องผ่านแสง (% T650) อยู่ในช่วง 0.25 ถึง 0.75 โดยมีค่าความสว่าง (L*) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (p>0.05) ค่าสีแดง (a*) เป็นบวกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (p≤0.05) และค่าสีเหลือง (b*) เป็นบวก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (p>0.05) ปริมาณของแข็งทั งหมดที่ละลายน้าได้อยู่ในช่วง 65.50 ถึง 66.16 องศาบริกซ์ ค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 3.56-4.59 ปริมาณกรดทั งหมด ที่ไทเทรตได้อยู่ในช่วงร้อยละ 0.550 ถึง 1.378 มีปริมาณน้าอิสระอยู่ในช่วง 0.768 ถึง 0.823 ค่าความหนืดอยู่ในช่วง 0.094-0.242 Pa.s และมีค่าร้อยละของไซรัปที่ผลิตได้ (% yield) อยู่ในช่วง 11.77 ถึง 15.54 ผลของการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่าผู้บริโภคชอบไซรัปที่ผลิตได้จาก มะม่วงน้าดอกไม้สีทองที่มีระยะการสุกในวันที่ 2 โดยให้คะแนน ความหวาน ความชอบรวมในระดับคะแนนชอบปานกลาง
|