การศึกษาการเจริญเติบโตของเห็ดกระด้างโดยใช้ขี้เลื่อยไม้มะม่วงแทนไม้เนื้ออ่อน อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คำทอง มหวงศ์วิริยะ หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช การทดลองครั้งนี้เป็นการศึกษาความเหมาะสมของการใช้ขี้เลื่อยไม้มะม่วงแทนไม้เนื้ออ่อนในการเพาะเห็ดกระด้าง เพื่อต้องการทราบระยะเวลาในการเจริญเติบโตของเส้นใยของเห็ดกระด้างจนเต็มก้อนเชื้อ จำนวนดอกต่อถุง น้ำหนักต่อดอก ความกว้างของดอก และความยาวของก้านดอก ซึ่งในการใช้ขี้เลื่อยที่เหมาะสมมีในท้องถิ่นและคุ้มค่า ช่วยให้ลดต้นทุนการผลิต ได้อีกทางหนึ่งและจะได้นำผลการทดลองแนะนำส่งเสริมเกษตรกรและผู้ที่สนใจต่อไป โดยวางแผนทดลองเป็นแบบสุ่มสมบูรณ์(Completely Randomized Design : CRD)การทดลองจะแบ่งเป็น 5 สูตร4 ซ้ำ ดังนี้ สูตรอาหารที่ 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 % สูตรอาหารที่ 2 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 75 %+ ขี้เลื่อยไม้มะม่วง 25 % สูตรอาหารที่ 3 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 50 % + ขี้เลื่อยไม้มะม่วง 50 % สูตรอาหารที่ 4 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 25 % + ขี้เลื่อยไม้มะม่วง 75 % สูตรอาหารที่ 5 ขี้เลื่อยไม้มะม่วง 100 % ผลการทดลองปรากฏว่าสูตรอาหารที่ 1ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100% ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดกระด้างจนเต็มก้อนเชื้อเฉลี่ยต่อถุงมากที่สุดคือ 25วัน จำนวนดอกต่อถุงเฉลี่ย2.3 ดอกน้ำหนักต่อดอกเฉลี่ย28.0 กรัม ความกว้างของดอกเฉลี่ย6.12เซนติเมตร และความยาวของก้านดอกเฉลี่ย6.96เซนติเมตร รองลงมาคือสูตรอาหารที่ 4ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา+ขี้เลื่อยไม้มะม่วง สูตรอาหารที่ 2ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา+ขี้เลื่อยไม้มะม่วงและสูตรอาหารที่ 3ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา+ขี้เลื่อยไม้มะม่วงตามลำดับ ส่วนสูตรอาหารที่ 5 ใช้ขี้เลื่อยไม้มะม่วง 100 % ให้ผลผลิตต่ำ กล่าวคือ ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดกระด้างจนเต็มก้อนเชื้อเฉลี่ยต่อถุงจำนวน 20วัน และให้จำนวนดอกต่อถุง1.95ดอก น้ำหนักต่อดอก26.5กรัม ความกว้างของดอก4.91เซนติเมตร และความยาวของก้านดอก 5.65เซนติเมตร เมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนพบว่าจำนวนดอกต่อถุง น้ำหนักต่อดอก ความกว้างของดอกและความยาวของก้านดอกมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ การทดลองครั้งนี้เป็นการศึกษาความเหมาะสมของการใช้ขี้เลื่อยไม้มะม่วงแทนไม้เนื้ออ่อนในการเพาะเห็ดกระด้าง เพื่อต้องการทราบระยะเวลาในการเจริญเติบโตของเส้นใยของเห็ดกระด้างจนเต็มก้อนเชื้อ จำนวนดอกต่อถุง น้ำหนักต่อดอก ความกว้างของดอก และความยาวของก้านดอก ซึ่งในการใช้ขี้เลื่อยที่เหมาะสมมีในท้องถิ่นและคุ้มค่า ช่วยให้ลดต้นทุนการผลิต ได้อีกทางหนึ่งและจะได้นำผลการทดลองแนะนำส่งเสริมเกษตรกรและผู้ที่สนใจต่อไป โดยวางแผนทดลองเป็นแบบสุ่มสมบูรณ์(Completely Randomized Design : CRD)การทดลองจะแบ่งเป็น 5 สูตร4 ซ้ำ ดังนี้ สูตรอาหารที่ 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 % สูตรอาหารที่ 2 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 75 %+ ขี้เลื่อยไม้มะม่วง 25 % สูตรอาหารที่ 3 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 50 % + ขี้เลื่อยไม้มะม่วง 50 % สูตรอาหารที่ 4 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 25 % + ขี้เลื่อยไม้มะม่วง 75 % สูตรอาหารที่ 5 ขี้เลื่อยไม้มะม่วง 100 % ผลการทดลองปรากฏว่าสูตรอาหารที่ 1ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100% ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดกระด้างจนเต็มก้อนเชื้อเฉลี่ยต่อถุงมากที่สุดคือ 25วัน จำนวนดอกต่อถุงเฉลี่ย2.3 ดอกน้ำหนักต่อดอกเฉลี่ย28.0 กรัม ความกว้างของดอกเฉลี่ย6.12เซนติเมตร และความยาวของก้านดอกเฉลี่ย6.96เซนติเมตร รองลงมาคือสูตรอาหารที่ 4ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา+ขี้เลื่อยไม้มะม่วง สูตรอาหารที่ 2ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา+ขี้เลื่อยไม้มะม่วงและสูตรอาหารที่ 3ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา+ขี้เลื่อยไม้มะม่วงตามลำดับ ส่วนสูตรอาหารที่ 5 ใช้ขี้เลื่อยไม้มะม่วง 100 % ให้ผลผลิตต่ำ กล่าวคือ ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดกระด้างจนเต็มก้อนเชื้อเฉลี่ยต่อถุงจำนวน 20วัน และให้จำนวนดอกต่อถุง1.95ดอก น้ำหนักต่อดอก26.5กรัม ความกว้างของดอก4.91เซนติเมตร และความยาวของก้านดอก 5.65เซนติเมตร เมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนพบว่าจำนวนดอกต่อถุง น้ำหนักต่อดอก ความกว้างของดอกและความยาวของก้านดอกมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ |