การเสริมวิตามินดีและแคลเซียมในอาหารไก่ไข่ระยะปลดไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีน้อย ชุ่มคำ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมวิตามินดีและแคลเซียมในอาหารไก่ไข่ระยะปลดไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด แบ่งไก่ไข่ลูกผสมทางการค้าพันธุ์โรมันบราวน์ อายุ 85 สัปดาห์จำนวน 96 ตัว เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 8 ตัว ให้อาหารทดลองดังนี้ กลุ่มที่ 1 ให้อาหารปกติ กลุ่มที่ 2 อาหารปกติเสริมวิตามินดี 3000 IU ต่ออาหาร 1กิโลกรัม และ กลุ่มที่ 3 อาหารปกติเสริมเปลือกหอย 1.5 เปอร์เซ็นต์ ระยะการทดลอง 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 4 สัปดาห์ พบว่า น้ำหนักไข่ ปริมาณอาหารที่กิน ประสิทธิภาพการใช้อาหาร อัตราการเลี้ยงรอด มวลไข่ ฮอกยูนิต ความถ่วงจำเพาะ เปอร์เซ็นต์เปลือกไข่ เปอร์เซ็นต์ไข่ขาว เปอร์เซ็นต์ไข่แดง ไข่ขนาดใหญ่ ไข่ขนาดกลางในแต่ละช่วงอายุและตลอดการทดลอง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05)การทดลองในช่วงอายุ 85-88 สัปดาห์ พบว่า อัตราการไข่ สีไข่แดง ไข่ขนาดใหญ่พิเศษ และไข่ขนาดเล็กแตกต่างกันทางสถิติ(P<0.05) ความหนาเปลือกไข่(P=0.09)และความถ่วงจำเพาะ(P=0.10)ในกลุ่มที่เสริมวิตามินดีและกลุ่มที่เสริมแคลเซียมมีแนวโน้มดีกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารปกติ ช่วงอายุที่ 89-92 สัปดาห์ พบว่า สีไข่แดงและดัชนีไข่แดง มีความแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) และช่วงอายุ 93-96 สัปดาห์ พบว่า สีไข่แดงแตกต่างกันทางสถิติ(P<0.05)ผลการทดลองตลอดอายุการเลี้ยง(85-96สัปดาห์) พบว่า สีไข่แดง มีความแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) โดยกลุ่มที่เสริมวิตามินดีและแคลเซียมมีสีไข่แดงเข้มกว่ากลุ่มที่ให้อาหารปกติ และกลุ่มที่เสริมแคลเซียมมีแนวโน้มจะมีดัชนีไข่แดงมากกว่ากลุ่มอื่นๆและกลุ่มที่เสริมวิตามินดีมีแนวโน้มจะมีไข่ขนาดใหญ่พิเศษมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ดังนั้นสามารถเสริมวิตามินดี และแคลเซียมในระดับที่ทดลองในอาหารไก่ระยะปลดไข่ได้โดยไม่มีผลเสียต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่และมีแนวโน้มจะช่วยปรับปรุงคุณภาพเปลือกไข่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมวิตามินดีและแคลเซียมในอาหารไก่ไข่ระยะปลดไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด แบ่งไก่ไข่ลูกผสมทางการค้าพันธุ์โรมันบราวน์ อายุ 85 สัปดาห์จำนวน 96 ตัว เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 8 ตัว ให้อาหารทดลองดังนี้ กลุ่มที่ 1 ให้อาหารปกติ กลุ่มที่ 2 อาหารปกติเสริมวิตามินดี 3000 IU ต่ออาหาร 1กิโลกรัม และ กลุ่มที่ 3 อาหารปกติเสริมเปลือกหอย 1.5 เปอร์เซ็นต์ ระยะการทดลอง 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 4 สัปดาห์ พบว่า น้ำหนักไข่ ปริมาณอาหารที่กิน ประสิทธิภาพการใช้อาหาร อัตราการเลี้ยงรอด มวลไข่ ฮอกยูนิต ความถ่วงจำเพาะ เปอร์เซ็นต์เปลือกไข่ เปอร์เซ็นต์ไข่ขาว เปอร์เซ็นต์ไข่แดง ไข่ขนาดใหญ่ ไข่ขนาดกลางในแต่ละช่วงอายุและตลอดการทดลอง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05)การทดลองในช่วงอายุ 85-88 สัปดาห์ พบว่า อัตราการไข่ สีไข่แดง ไข่ขนาดใหญ่พิเศษ และไข่ขนาดเล็กแตกต่างกันทางสถิติ(P<0.05) ความหนาเปลือกไข่(P=0.09)และความถ่วงจำเพาะ(P=0.10)ในกลุ่มที่เสริมวิตามินดีและกลุ่มที่เสริมแคลเซียมมีแนวโน้มดีกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารปกติ ช่วงอายุที่ 89-92 สัปดาห์ พบว่า สีไข่แดงและดัชนีไข่แดง มีความแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) และช่วงอายุ 93-96 สัปดาห์ พบว่า สีไข่แดงแตกต่างกันทางสถิติ(P<0.05)ผลการทดลองตลอดอายุการเลี้ยง(85-96สัปดาห์) พบว่า สีไข่แดง มีความแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) โดยกลุ่มที่เสริมวิตามินดีและแคลเซียมมีสีไข่แดงเข้มกว่ากลุ่มที่ให้อาหารปกติ และกลุ่มที่เสริมแคลเซียมมีแนวโน้มจะมีดัชนีไข่แดงมากกว่ากลุ่มอื่นๆและกลุ่มที่เสริมวิตามินดีมีแนวโน้มจะมีไข่ขนาดใหญ่พิเศษมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ดังนั้นสามารถเสริมวิตามินดี และแคลเซียมในระดับที่ทดลองในอาหารไก่ระยะปลดไข่ได้โดยไม่มีผลเสียต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่และมีแนวโน้มจะช่วยปรับปรุงคุณภาพเปลือกไข่ |