การเสริมเปลือกหอยในอาหารไก่ไข่ระยะปลดไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีน้อย ชุ่มคำ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เปลือกหอยนางรมป่นเป็นแหล่งแคลเซียมเสริมในอาหารไก่ไข่ระยะปลดไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด แบ่งไก่ไข่ลูกผสมทางการค้า พันธุ์โรมันบราวน์ อายุ 79 สัปดาห์ จำนวน 80 ตัว ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ให้อาหารไก่ไข่ที่เสริมเปลือกหอยป่นในระดับต่างๆดังนี้ กลุ่มที่ 1 อาหารปกติ (กลุ่มควบคุม;ระดับแคลเซียมในอาหาร 3.3 %) กลุ่มที่ 2 อาหารปกติเสริมเปลือกหอยนางรมป่น (ระดับแคลเซียมในอาหาร 3.7%) ระยะเวลาการทดลอง 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูล 3 ช่วง ช่วงละ 4 สัปดาห์ พบว่า สมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ น้ำหนักไข่ น้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลง อัตราการเลี้ยงรอด ดัชนีรูปทรงไข่ ดัชนีไข่แดง เปอร์เซ็นต์เปลือกไข่ เปอร์เซ็นต์ไข่ขาว เปอร์เซ็นต์ไข่แดง ความหนาเปลือกไข่ ความถ่วงจำเพาะ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในช่วงการทดลองที่ 1 พบว่าปริมาณอาหารที่กิน (102.03กรัม, 109.38 กรัม) และอัตราการให้ผลผลิตไข่ (67.67%, 81.51%) ในกลุ่มที่ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ช่วงการทดลองที่ 2 พบว่าอัตราการให้ผลผลิตไข่ (73.09%, 81.33%) ของกลุ่มที่ 2 มีแนวโน้มมากกว่ากลุ่มที่ 1 (P=0.08) อัตราการให้ผลผลิตไข่ (70.14%, 80.41%) และค่า Haugh unit (79.90, 76.23) ช่วงตลอดการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ขนาดไข่ในกลุ่มที่ 2 มีแนวโน้มว่าจะมีไข่ขนาดใหญ่มากกว่ากลุ่มที่ 1 (P=0.09) ดังนั้นการเสริมเปลือกหอยเพื่อเป็นแหล่งแคลเซียมในอาหารไก่ระยะปลดไข่ให้ได้ในระดับ 3.7 % จะช่วยเพิ่มอัตราการให้ไข่และอาจทำให้ได้ไข่ขนาดใหญ่มากขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เปลือกหอยนางรมป่นเป็นแหล่งแคลเซียมเสริมในอาหารไก่ไข่ระยะปลดไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด แบ่งไก่ไข่ลูกผสมทางการค้า พันธุ์โรมันบราวน์ อายุ 79 สัปดาห์ จำนวน 80 ตัว ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ให้อาหารไก่ไข่ที่เสริมเปลือกหอยป่นในระดับต่างๆดังนี้ กลุ่มที่ 1 อาหารปกติ (กลุ่มควบคุม;ระดับแคลเซียมในอาหาร 3.3 %) กลุ่มที่ 2 อาหารปกติเสริมเปลือกหอยนางรมป่น (ระดับแคลเซียมในอาหาร 3.7%) ระยะเวลาการทดลอง 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูล 3 ช่วง ช่วงละ 4 สัปดาห์ พบว่า สมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ น้ำหนักไข่ น้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลง อัตราการเลี้ยงรอด ดัชนีรูปทรงไข่ ดัชนีไข่แดง เปอร์เซ็นต์เปลือกไข่ เปอร์เซ็นต์ไข่ขาว เปอร์เซ็นต์ไข่แดง ความหนาเปลือกไข่ ความถ่วงจำเพาะ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในช่วงการทดลองที่ 1 พบว่าปริมาณอาหารที่กิน (102.03กรัม, 109.38 กรัม) และอัตราการให้ผลผลิตไข่ (67.67%, 81.51%) ในกลุ่มที่ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ช่วงการทดลองที่ 2 พบว่าอัตราการให้ผลผลิตไข่ (73.09%, 81.33%) ของกลุ่มที่ 2 มีแนวโน้มมากกว่ากลุ่มที่ 1 (P=0.08) อัตราการให้ผลผลิตไข่ (70.14%, 80.41%) และค่า Haugh unit (79.90, 76.23) ช่วงตลอดการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ขนาดไข่ในกลุ่มที่ 2 มีแนวโน้มว่าจะมีไข่ขนาดใหญ่มากกว่ากลุ่มที่ 1 (P=0.09) ดังนั้นการเสริมเปลือกหอยเพื่อเป็นแหล่งแคลเซียมในอาหารไก่ระยะปลดไข่ให้ได้ในระดับ 3.7 % จะช่วยเพิ่มอัตราการให้ไข่และอาจทำให้ได้ไข่ขนาดใหญ่มากขึ้น |