การศึกษาคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองพันธุ์ตองหนึ่ง (111) ระหว่างเพศผู้และเพศเมีย อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองพันธุ์ตองหนึ่ง ระหว่างเพศผู้และเพศเมีย จำนวน 20 ตัว แบ่งเป็นเพศผู้ 10 ตัวและเพศเมีย 10 ตัว ผลการทดลองพบว่าไก่เพศผู้มีน้ำหนักตัว น้ำหนักซาก เปอร์เซ็นต์ปีก เปอร์เซ็นต์น่องสูงและเปอร์เซ็นต์เท้า สูงกว่าไก่เพศเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ขณะที่เปอร์เซ็นต์อก เปอร์เซ็นต์สะโพก เปอร์เซ็นต์เครื่องในรวม และเปอร์เซ็นต์ซี่โครง ของไก่เพศผู้และเพศเมียไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p≥0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในช่องท้องของไก่เพศเมีย สูงกว่าไก่เพศผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) สำหรับคุณภาพเนื้ออก พบว่าการสูญเสียน้ำขณะประกอบอาหารของไก่เพศผู้มีแนวโน้มสูงกว่า (p=0.07) ขณะที่การสูญเสียน้ำภายหลังจากการแช่เย็นและค่าแรงตัดผ่านเนื้อมีค่าไม่ต่างกัน ส่วนสีของเนื้อ พบว่า b* เพศเมียสูงกว่าไก่เพศผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) มีค่าต่ำในไก่เพศผู้ (p<0.05) ขณะที่ค่า L* ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และค่า a* ของไก่เพศเมียมีแนวโน้มสูงกว่าไก่เพศผู้ จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าไก่เพศผู้มีคุณภาพซากดีกว่าไก่เพศเมีย ส่วนคุณภาพเนื้อและคุณภาพสีไม่แตกต่างจากไก่เพศเมีย การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองพันธุ์ตองหนึ่ง ระหว่างเพศผู้และเพศเมีย จำนวน 20 ตัว แบ่งเป็นเพศผู้ 10 ตัวและเพศเมีย 10 ตัว ผลการทดลองพบว่าไก่เพศผู้มีน้ำหนักตัว น้ำหนักซาก เปอร์เซ็นต์ปีก เปอร์เซ็นต์น่องสูงและเปอร์เซ็นต์เท้า สูงกว่าไก่เพศเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ขณะที่เปอร์เซ็นต์อก เปอร์เซ็นต์สะโพก เปอร์เซ็นต์เครื่องในรวม และเปอร์เซ็นต์ซี่โครง ของไก่เพศผู้และเพศเมียไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p≥0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในช่องท้องของไก่เพศเมีย สูงกว่าไก่เพศผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) สำหรับคุณภาพเนื้ออก พบว่าการสูญเสียน้ำขณะประกอบอาหารของไก่เพศผู้มีแนวโน้มสูงกว่า (p=0.07) ขณะที่การสูญเสียน้ำภายหลังจากการแช่เย็นและค่าแรงตัดผ่านเนื้อมีค่าไม่ต่างกัน ส่วนสีของเนื้อ พบว่า b* เพศเมียสูงกว่าไก่เพศผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) มีค่าต่ำในไก่เพศผู้ (p<0.05) ขณะที่ค่า L* ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และค่า a* ของไก่เพศเมียมีแนวโน้มสูงกว่าไก่เพศผู้ จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าไก่เพศผู้มีคุณภาพซากดีกว่าไก่เพศเมีย ส่วนคุณภาพเนื้อและคุณภาพสีไม่แตกต่างจากไก่เพศเมีย |