ผลของน้ำหมักชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์และผักสดที่เป็นส่วนเหลือทิ้งจากตลาดสด ต่อปริมาณจุลินทรีย์ ในภาชนะถังหมัก เป็นระยะเวลา 21 และ28 วัน อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นและหาปริมาณจุลินทรีย์ จากน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักหญ้าเนเปียร์และเศษผักที่อายุการหมักต่างกัน โดยวางแผนการทดลองแบบ independent t-test แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ซ้ำ กลุ่มที่ 1 หมักนาน 21 วัน กลุ่มที่ 2 หมักนาน 28 วัน จากผลการทดสอบของน้ำหมักที่อายุการหมัก 21 วัน และ อายุการหมัก 28 วัน พบว่ามีค่าความเป็นกรด-ด่าง เฉลี่ยเท่ากับ 4.11 และ 4.42 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในส่วนของ ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดของน้ำหมักที่อายุการหมัก 21 วัน และอายุการหมัก 28 วัน ทั้งสองตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) คือ 22.5×106 และ 5.76×106 cfu/ml ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นและหาปริมาณจุลินทรีย์ จากน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักหญ้าเนเปียร์และเศษผักที่อายุการหมักต่างกัน โดยวางแผนการทดลองแบบ independent t-test แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ซ้ำ กลุ่มที่ 1 หมักนาน 21 วัน กลุ่มที่ 2 หมักนาน 28 วัน จากผลการทดสอบของน้ำหมักที่อายุการหมัก 21 วัน และ อายุการหมัก 28 วัน พบว่ามีค่าความเป็นกรด-ด่าง เฉลี่ยเท่ากับ 4.11 และ 4.42 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในส่วนของ ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดของน้ำหมักที่อายุการหมัก 21 วัน และอายุการหมัก 28 วัน ทั้งสองตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) คือ 22.5×106 และ 5.76×106 cfu/ml ตามลำดับ เปรียบเทียบคุณภาพหญ้าหมักที่ทำจากหญ้าเนเปียร์สีม่วงและหญ้าเฮมิล | อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพของหญ้าหมัก ระหว่างหญ้าเนเปียร์สีม่วงและหญ้าเฮมิล โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ซ้ำ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ หญ้าเนเปียร์สีม่วง และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ หญ้าเฮมิล ตามลำดับ โดยทั้ง 2 กลุ่มมีระยะเวลาการ หมัก 29 วัน โดยวางแผนการทดลองแบบ T-test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยเก็บข้อมูล ค่า ความเป็นกรด – ด่าง และ ลักษณะทางกายภาพได้แก่ สี กลิ่น และเนื้อสัมผัส ผลทดลองพบว่า หญ้าเนเปียร์สีม่วงหมักมีคุณภาพหญ้าหมักดีกว่าหญ้าเฮมิล โดยเฉพาะความเป็นกรด – ด่าง อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพของหญ้าหมัก ระหว่างหญ้าเนเปียร์สีม่วงและหญ้าเฮมิล โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ซ้ำ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ หญ้าเนเปียร์สีม่วง และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ หญ้าเฮมิล ตามลำดับ โดยทั้ง 2 กลุ่มมีระยะเวลาการ หมัก 29 วัน โดยวางแผนการทดลองแบบ T-test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยเก็บข้อมูล ค่า ความเป็นกรด – ด่าง และ ลักษณะทางกายภาพได้แก่ สี กลิ่น และเนื้อสัมผัส ผลทดลองพบว่า หญ้าเนเปียร์สีม่วงหมักมีคุณภาพหญ้าหมักดีกว่าหญ้าเฮมิล โดยเฉพาะความเป็นกรด – ด่าง อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) คุณภาพหญ้าเนเปียร์สีม่วงและหญ้าเนปียร์ปากช่อง 1 หมักร่วมกับใบกระถินสด | อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ หญ้าเนเปียร์ เป็นหญ้าเขตร้อนที่นิยมปลูกทั่วไปในประเทศไทย แต่เมื่อถึงฤดูแล้งพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีจะหาได้ยากโดยเฉพาะหญ้าสดทั้งปริมาณและคุณภาพ เกษตรกรจึงต้องมีการถนอมพืชอาหารสัตว์ในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะการทาหญ้าแห้งและหมักสาหรับไว้ใช้ในฤดูแล้ง หญ้าเนเปียร์และกระถิน จัดเป็นพืชอาหารสัตว์ที่นิยมนามาหมักและใช้เป็นแหล่งโปรตีนหลักสาหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพพืชหมักระหว่างหญ้าเนเปียร์สองสายพันธุ์ คือ เนเปียร์สีม่วง และเนเปียร์ปากช่อง 1 โดยการเสริมกระถิน โดยแบ่งกลุ่มทดลองเป็นสองกลุ่มตามพันธุ์หญ้า คือ หญ้าเนเปียร์สีม่วง และหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 โดยจัดเป็นกลุ่มที่ 1 และ 2 ตามลาดับ โดยทั้งสองกลุ่มมีการใส่ใบกระถินสดและกากน้าตาล โดยมีระยะเวลาการหมัก 21 วัน โดยวางแผนการทดลองแบบ t-test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลองพบว่า หญ้าเนเปียร์สีม่วงหมัก มีคุณภาพหญ้าหมักดีกว่าหญ้าเนเปียร์ปากช่อง โดยเฉพาะ ค่าความเป็นกรดด่าง – ด่าง ปริมาณกรดแลคติค รวมทั้งกรดอินทรีย์อื่น ๆ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) หญ้าเนเปียร์ เป็นหญ้าเขตร้อนที่นิยมปลูกทั่วไปในประเทศไทย แต่เมื่อถึงฤดูแล้งพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีจะหาได้ยากโดยเฉพาะหญ้าสดทั้งปริมาณและคุณภาพ เกษตรกรจึงต้องมีการถนอมพืชอาหารสัตว์ในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะการทาหญ้าแห้งและหมักสาหรับไว้ใช้ในฤดูแล้ง หญ้าเนเปียร์และกระถิน จัดเป็นพืชอาหารสัตว์ที่นิยมนามาหมักและใช้เป็นแหล่งโปรตีนหลักสาหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพพืชหมักระหว่างหญ้าเนเปียร์สองสายพันธุ์ คือ เนเปียร์สีม่วง และเนเปียร์ปากช่อง 1 โดยการเสริมกระถิน โดยแบ่งกลุ่มทดลองเป็นสองกลุ่มตามพันธุ์หญ้า คือ หญ้าเนเปียร์สีม่วง และหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 โดยจัดเป็นกลุ่มที่ 1 และ 2 ตามลาดับ โดยทั้งสองกลุ่มมีการใส่ใบกระถินสดและกากน้าตาล โดยมีระยะเวลาการหมัก 21 วัน โดยวางแผนการทดลองแบบ t-test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลองพบว่า หญ้าเนเปียร์สีม่วงหมัก มีคุณภาพหญ้าหมักดีกว่าหญ้าเนเปียร์ปากช่อง โดยเฉพาะ ค่าความเป็นกรดด่าง – ด่าง ปริมาณกรดแลคติค รวมทั้งกรดอินทรีย์อื่น ๆ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) เปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีระหว่างถั่วผีและถั่วฮามาต้า | อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ ในการศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีระหว่างถั่วผี ที่อายุการ ตัด 70 วัน และถั่วฮามาต้า ที่อายุการตัด 63 วัน การวางแผนการทดลองแบบการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ 2 ประชากร (T-test) คือ กลุ่มของถั่วผี และกลุ่มถั่วฮามาต้า นำต้นถั่วทั้งสองมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ โปรตีนหยาบ และเยื่อใย ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบ พบว่า ถั่วผี ที่อายุการตัด 70 วัน และถั่วฮามาต้า ที่อายุการตัด 63 วัน มีค่าโปรตีนหยาบ เท่ากับ 18.76 เปอร์เซ็นต์ และ 22.75 เปอร์เซ็นต์ ค่า NDF เท่ากับ 51.78 เปอร์เซ็นต์ และ 49.10 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในการศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีระหว่างถั่วผี ที่อายุการ ตัด 70 วัน และถั่วฮามาต้า ที่อายุการตัด 63 วัน การวางแผนการทดลองแบบการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ 2 ประชากร (T-test) คือ กลุ่มของถั่วผี และกลุ่มถั่วฮามาต้า นำต้นถั่วทั้งสองมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ โปรตีนหยาบ และเยื่อใย ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบ พบว่า ถั่วผี ที่อายุการตัด 70 วัน และถั่วฮามาต้า ที่อายุการตัด 63 วัน มีค่าโปรตีนหยาบ เท่ากับ 18.76 เปอร์เซ็นต์ และ 22.75 เปอร์เซ็นต์ ค่า NDF เท่ากับ 51.78 เปอร์เซ็นต์ และ 49.10 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนะระหว่างคุกกี้กระต่ายสองสูตรที่ทำจากหญ้าแพงโกล่า | อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ จากการเปรียบเทียบคุณค่าโภชนาการอาหารเสริมสำหรับกระต่ายที่ขึ้นรูปโดยใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งผสมกับกล้วยน้ำว้าสุกกับกล้วยหอมสุก โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ โดยใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งบดผสมกับกล้วยน้ำว้าสุก และหญ้าแพงโกล่าแห้งบดผสมกับกล้วยหอมสุก รวมทั้งหมด 8 หน่วย โดยการนำหญ้าแพงโกล่าแห้งมาบดให้ละเอียดผสมกับกล้วยน้ำว้าสุก และหญ้าแพงโกล่าแห้งผสมกับกล้วยหอมสุก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ คุณค่าโภชนาการที่เหมาะสม ในการทำอาหารเสริมสำหรับกระต่าย จากการศึกษาพบว่า การทดลองทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าสูตรที่ 1 ความชื้น 87.18, โปรตีน 5.34, ไขมัน 0.30, เยื่อใย 20.21 และสูตรที่ 2 ความชื้น 89.06, โปรตีน 6.92, ไขมัน 0.37, เยื่อใย 25.77 โดยอาหารเสริมทั้ง 2 ชนิด มีปริมาณความชื้น ไขมัน และเยื่อใย ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p ≥ 0.05 ) แต่สูตรที่ 1 หญ้าแพงโกล่ากล้วยน้ำว้า มีปริมาณของโปรตีนน้อยกว่าสูตรที่ 2 หญ้าแพงโกล่ากล้วยหอม ซึ่งมีปริมาณของโปรตีนที่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p ≤ 0.05 ) จากการเปรียบเทียบคุณค่าโภชนาการอาหารเสริมสำหรับกระต่ายที่ขึ้นรูปโดยใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งผสมกับกล้วยน้ำว้าสุกกับกล้วยหอมสุก โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ โดยใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งบดผสมกับกล้วยน้ำว้าสุก และหญ้าแพงโกล่าแห้งบดผสมกับกล้วยหอมสุก รวมทั้งหมด 8 หน่วย โดยการนำหญ้าแพงโกล่าแห้งมาบดให้ละเอียดผสมกับกล้วยน้ำว้าสุก และหญ้าแพงโกล่าแห้งผสมกับกล้วยหอมสุก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ คุณค่าโภชนาการที่เหมาะสม ในการทำอาหารเสริมสำหรับกระต่าย จากการศึกษาพบว่า การทดลองทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าสูตรที่ 1 ความชื้น 87.18, โปรตีน 5.34, ไขมัน 0.30, เยื่อใย 20.21 และสูตรที่ 2 ความชื้น 89.06, โปรตีน 6.92, ไขมัน 0.37, เยื่อใย 25.77 โดยอาหารเสริมทั้ง 2 ชนิด มีปริมาณความชื้น ไขมัน และเยื่อใย ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p ≥ 0.05 ) แต่สูตรที่ 1 หญ้าแพงโกล่ากล้วยน้ำว้า มีปริมาณของโปรตีนน้อยกว่าสูตรที่ 2 หญ้าแพงโกล่ากล้วยหอม ซึ่งมีปริมาณของโปรตีนที่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p ≤ 0.05 ) การศึกษาการใช้มันเทศสีม่วงและฟักทองสำหรับทำคุกกี้กระต่าย | อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุกกี้กระต่าย 2 สูตร สำหรับใช้ในการทำคุกกี้กระต่าย โดยแบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มันเทศสีม่วงผสมหญ้าเนเปียร์ และกลุ่มที่ 2 ฟักทองผสมหญ้าเนเปียร์ ข้อมูลที่ศึกษาได้แก่ องค์ประกอบทางโภชนะและความน่ากินซึ่งทดสอบเบื้องต้นโดยให้กระต่ายเลือกกิน ผลการศึกษาพบว่าวัตถุแห้ง โปรตีนหยาบ เยื่อใยรวม เถ้าและคาร์โบไฮเดรต ของมันเทศสีม่วงและฟักทองมีความแตกกันทางสถิติ (P<0.05) ส่วนไขมันรวมไม่มีความแตกกันทางสถิติ (P>0.05) สำหรับความน่ากินของคุกกี้ พบว่า กระต่ายชอบคุกกี้ที่มีส่วนผสมของมันเทศสีม่วงมากกว่า ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสี กลิ่นและเนื้อสัมผัสที่น่ากินมากกว่าคุกกี้ฟักทอง ซึ่งการศึกษาในอนาคตอาจจะเน้นเก็บข้อมูลด้านสัตว์ทดลองให้ละเอียดและวิเคราะห์โภชนะที่จำเป็นสำหรับกระต่ายมากขึ้น
ผลของฟางข้าวหมักด้วยกากกน้าตาลและยูเรียต่อระดับ pH และปริมาณความชื้น | อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์
จากการศึกษาฟางข้าวหมักด้วยกากน้าตาล 10 เปอร์เซ็นต์ และฟางข้าวหมักด้วยยูเรีย 6 เปอร์เช็นต์ โดยวางแผนการทดลองแบบ independent t-test แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่มกลุ่มละ 15 ซ้า คือกลุ่มทดลองที่ 1 เสริมกากน้าตาล 10 เปอร์เช็นต์ 15 ซ้า กลุ่มทดลองที่ 2 เสริมยูเรีย 6 เปอร์เช็นต์ 15 ซ้า โดยรวมทั งหมด 30 ถุง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเป็นกรด-ด่าง และปริมานความชื นการหมักฟางข้าวหมักระหว่างกากน้าตาลและยูเรีย เริ่มการทดลองหมักที่ 21 วัน ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จากผลการทดลองครั งนี พบว่าฟางข้าวหมักด้วยกากน้าตาล 10 เปอร์เซ็นต์ และฟางข้าวหมักด้วยยูเรีย 6 เปอร์เช็นต์ มีค่าความเป็นกรด-ด่าง เฉลี่ยเท่ากับ 5.64 และ 8.45 ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติและมีค่าความชื นเฉลี่ยเท่ากับ 45.02 และ 44.13 ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ(p>0.05)
การศึกษาการเจริญของเส้นใยเห็ดเป๋าฮื้อในวัสดุปลูกที่แตกต่างกันในฤดูร้อน | อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิกา อัมพุช หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์
ในการศึกษาการเจริญของเส้นใยเห็ดเป๋าฮื้อในวัสดุปลูกที่แตกต่างกันในฤดูร้อน ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการศึกษาการเจริญของเส้นใยเห็ดเป๋าฮื้อในวัสดุที่ต่างกัน โดยใช้ปริมาณของรำละเอียดและ เศษไม้กระถินบดที่แตกต่างกันและ ต้องการทราบถึงการออกดอกของเห็ดเป๋าฮื้อในฤดูร้อนโดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design ( CRD )ซึ่งทำการทดลองทั้งหมด 5 สูตรอาหารทดลอง สูตรละ 3 ซ้ำๆ ละ 4 ก้อน โดยบรรจุก้อนละ 500 กรัม
ผลการทดลองพบว่า ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ สูตรอาหาร 4และ 5 มีการเจริญของเส้นใยช้ากว่าสูตรอาหาร 1,2และ 3 ในช่วงสัปดาห์แรกๆ แต่ในสัปดาห์สุดท้าย เส้นใยเห็ดเป๋าฮื้อมีการเจริญที่ไม่แตกต่างกันโดย สูตรอาหารที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 9.85 ซ.ม สูตรอาหารที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 10.30 ซ.ม สูตรอาหารที่ 3 มีค่าเฉลี่ย 10.22 สูตรอาหารที่ 4 มีค่าเฉลี่ย 10.05 ซ.ม และ สูตรอาหารที่ 5 มีค่าเฉลี่ย 9.19 ซ.ม แต่อย่างไรก็ตามเห็ดเป๋าฮื้อไม่สามารถออกดอกได้เนื่องจากมีอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมกับเห็ดเป๋าฮื้อ
ฉะนั้น ผู้ที่จะเพาะเห็ดจึงควรเลือกเศษไม้กระถินป่นเป็นส่วนผสมในอัตราทดแทนที่ 25-50 เปอร์เซ็นต์ และ ไม่ควรเปิดดอกเห็ดในฤดูร้อน หรือ ถ้ามีความต้องการผลิตเห็ดเป๋าฮื้อในฤดูร้อนควรควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 30 องศาเซลเซียน
|