ผลของการเกิด Wooden breast ในกล้ามเนื้ออกไก่ต่อค่าสีและเนื้อสัมผัสของเนื้อสด และเนื้อสุก อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเกิด Wooden Breast (WB) ในกล้ามเนื้ออกไก่ต่อค่าสีและเนื้อสัมผัสของเนื้อสด และเนื้อสุก โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) วิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance; ANOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตามวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DMRT) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยใช้เนื้ออกไก่ทั้งหมด 75 ตัวอย่าง กลุ่มละ 25 ซ้ำ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เนื้อปกติ (Normal) กลุ่มที่ 2 การเกิด WB ระดับปานกลาง (Moderate) และ กลุ่มที่ 3 การเกิด WB ระดับรุนแรง (Severe) ผลการทดลองพบว่าการเกิด WB ในกล้ามเนื้ออกไก่สดต่อค่าสี มีผลทำให้สีของเนื้อเปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่ามีค่าความสว่าง (L*) ของการเกิด WB ระดับรุนแรงและปานกลางมีความแตกต่างจากเนื้อปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ค่าสีแดง (a*) และค่าสีเหลือง (b*) ของเนื้อ WB ระดับปานกลางและรุนแรงไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบการเกิด WB ในกล้ามเนื้ออกไก่สุกต่อค่าเนื้อสัมผัสไม่มีความแตกต่างกันจากเนื้อปกติ ในขณะที่เมื่อนำชิ้นเนื้อ WB ที่สุกมาทดสอบค่าแรงเฉือนพบว่ามีความแตกต่างจากเนื้อสดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เพราะฉะนั้นผลของการเกิด WB มีผลทำให้ลักษณะภายนอก เช่น สีและความยืดหยุ่นของเนื้ออกไก่เปลี่ยนแปลงไปทำให้มีผลต่อคุณภาพเนื้อ และส่งผลต่อการยอมรับของผู้บริโภค งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเกิด Wooden Breast (WB) ในกล้ามเนื้ออกไก่ต่อค่าสีและเนื้อสัมผัสของเนื้อสด และเนื้อสุก โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) วิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance; ANOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตามวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DMRT) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยใช้เนื้ออกไก่ทั้งหมด 75 ตัวอย่าง กลุ่มละ 25 ซ้ำ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เนื้อปกติ (Normal) กลุ่มที่ 2 การเกิด WB ระดับปานกลาง (Moderate) และ กลุ่มที่ 3 การเกิด WB ระดับรุนแรง (Severe) ผลการทดลองพบว่าการเกิด WB ในกล้ามเนื้ออกไก่สดต่อค่าสี มีผลทำให้สีของเนื้อเปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่ามีค่าความสว่าง (L*) ของการเกิด WB ระดับรุนแรงและปานกลางมีความแตกต่างจากเนื้อปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ค่าสีแดง (a*) และค่าสีเหลือง (b*) ของเนื้อ WB ระดับปานกลางและรุนแรงไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบการเกิด WB ในกล้ามเนื้ออกไก่สุกต่อค่าเนื้อสัมผัสไม่มีความแตกต่างกันจากเนื้อปกติ ในขณะที่เมื่อนำชิ้นเนื้อ WB ที่สุกมาทดสอบค่าแรงเฉือนพบว่ามีความแตกต่างจากเนื้อสดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เพราะฉะนั้นผลของการเกิด WB มีผลทำให้ลักษณะภายนอก เช่น สีและความยืดหยุ่นของเนื้ออกไก่เปลี่ยนแปลงไปทำให้มีผลต่อคุณภาพเนื้อ และส่งผลต่อการยอมรับของผู้บริโภค |