การจัดทามาตรฐานลักษณะปรากฏของผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋อง เพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส (รายงานสหกิจศึกษา) อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทรงพลธนฤทธ์ มฤครัฐอินแปลง หลักสูตร : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร การศึกษาระดับอุณหภูมิอบแห้งที่มีผลต่อคุณภาพของตะลิงปลิงแช่อิ่มของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร คลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี | อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทรงพลธนฤทธ์ มฤครัฐอินแปลง หลักสูตร : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาระดับอุณหภูมิอบแห้งที่มีผลต่อคุณภาพตะลิงปลิงแช่อิ่มของกลุ่มแม่บ้าน
เกษตรกรคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี คัดแยกขนาดของผลตะลิงที่มีขนาดใกล้เคียงกันศึกษา
ลักษณะทางกายภาพแล้ว พบว่า ผลตะลิงปลิงมีลักษณะกลมยาวปลายเรียวมน ผิวเรียบเขียว มีน้ำหนักผล
เท่ากับ 16.12 กรัม ความยาว 5.58 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.59 เซนติเมตร จากนั้นนำมาแช่อิ่มตาม
กรรมวิธีการของกลุ่มแม่บ้าน เมื่อนำไปศึกษาระดับอุณหภูมิอบแห้งที่มีผลต่ออัตราการระเหยน้ำของ
ตะลิงปลิงแช่อิ่มอบแห้ง โดยใช้อุณหภูมิ 3 ระดับ คือ 50, 55 และ 60 องศาเซลเซียส อบแห้งด้วยเครื่องอบ
แบบถาด (Tray dryer) และเครื่องอบแบบลมร้อน (Hot air oven) โดยใช้ความชื้นที่ 29.073 เปอร์เซ็นต์
เป็นตัวควบคุม พบว่า ที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมของเครื่องอบแบบถาด
และเครื่องอบแบบลมร้อน โดยใช้เวลา 11 และ 13 ชั่วโมง ตามลำดับ ผลการศึกษาคุณภาพสีของตะลิงปลิง
แช่อิ่มอบแห้ง พบว่าที่ระดับอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสของเครื่องอบทั้งสองแบบ ผลิตภัณฑ์ตะลิงปลิงที่ได้
จะมีสีน้ำตาลเข้มกว่าการอบแห้งที่ระดับอุณหภูมิ 50 และ 55 องศาเซลเซียส และมีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อนำมาศึกษาสูตรที่ผู้บริโภคยอมรับโดยใช้คะแนนของผู้ทดสอบเป็นเกณฑ์
คัดเลือก พบว่า ผู้บริโภคให้การยอมรับตะลิงปลิงแช่อิ่มอบแห้งที่ระดับอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ของ
เครื่องอบแบบลมร้อน โดยมีคะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสมากที่สุด และเมื่อนำสูตรนี้ไป
เปรียบเทียบกับสูตรควบคุมของกลุ่มแม่บ้าน ที่ใช้ระดับอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสของเครื่องอบแบบถาด
พบว่า ผู้บริโภคให้การยอมรับตะลิงปลิงแช่อิ่มอบแห้งที่ระดับอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียสของเครื่องอบแบบ
ลมร้อนมากกว่าสูตรของกลุ่มแม่บ้าน ผลการศึกษาองค์ประกอบทางด้านเคมี-กายภาพของทั้งสองสูตร ไม่มี
ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนผลการวิเคราะห์จุลินทรีย์ของตะลิงแช่อิ่มอบแห้ง
พบว่า ในการเก็บรักษา 30 วัน มีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์อยู่ในเกณฑ์ตามที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผลไม้แห้ง (มผช. 136/2550) กำหนด
|