ผลของระดับความเค็ม-ด่างที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ข้าวเป็นอาหารหลักชนิดหนึ่งของประชากรโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของโลกและเป็นอาหารหลักของคนไทยมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลและถือเป็นชีวิตจิตใจของคนไทย การทำนาจึงเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และถือได้ว่าข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญยิ่งเนื่องจากพื้นที่ส่วนมากของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีดินเค็ม ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับความเค็ม-ด่างที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomizrd Design, CRD) โดยแบ่งออกเป็น 4 กรรมวิธี (Treatment) กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ (Replication) ซ้ำละ 50 เมล็ด ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 (T1) คือ ชุดควบคุม (น้ำกลั่น) กรรมวิธีที่ 2 (T2) คือ 50 mM Na+pH7 ( NaCl 49.5 mM + NaHCO3 0.5 mM) กรรมวิธีที่ 3 (T3) คือ 50 mM Na+pH8 (NaCl 48 mM + NaHCO3 2 mM) กรรมวิธีที่ 4 (T4) คือ 50 mM Na+pH9 (Na2CO3 12.5 mM + NaHCO3 25 mM) จากการศึกษาพบว่า ความเค็ม-ด่างในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 ที่ระดับความเค็ม-ด่างแตกต่างกัน 50 mM Na+pH7, 50mM Na+pH8, 50 mM Na+pH9 พบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในด้านความยาวราก, ค่าเฉลี่ย, อัตราการถูกทำลาย, เปอร์เซ็นต์การงอก, ความแข็งแรงของเมล็ด, การลดลงของความสูง และความทนเค็ม ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีความทนต่อความเคลียดภายใต้สภาวะความเค็ม-ด่างที่ระดับ 50 mM Na+pH7 ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 ในด้าน น้ำหนักสด, น้ำหนักแห้ง, ความยาวต้น, เปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ และดัชนีการงอก มีความไวต่อความเค็ม-ด่างในสภาวะที่ไม่รุนแรงในระดับใดได้ ดังนั้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพทนความเค็ม-ด่าง อยู่ที่ 50 mM Na+pH7 ซึ่งทนได้มากกว่าข้าวปทุมธานี 1 ที่ไม่สามารถทนในสภาวะใดได้ ข้าวเป็นอาหารหลักชนิดหนึ่งของประชากรโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของโลกและเป็นอาหารหลักของคนไทยมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลและถือเป็นชีวิตจิตใจของคนไทย การทำนาจึงเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และถือได้ว่าข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญยิ่งเนื่องจากพื้นที่ส่วนมากของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีดินเค็ม ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับความเค็ม-ด่างที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomizrd Design, CRD) โดยแบ่งออกเป็น 4 กรรมวิธี (Treatment) กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ (Replication) ซ้ำละ 50 เมล็ด ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 (T1) คือ ชุดควบคุม (น้ำกลั่น) กรรมวิธีที่ 2 (T2) คือ 50 mM Na+pH7 ( NaCl 49.5 mM + NaHCO3 0.5 mM) กรรมวิธีที่ 3 (T3) คือ 50 mM Na+pH8 (NaCl 48 mM + NaHCO3 2 mM) กรรมวิธีที่ 4 (T4) คือ 50 mM Na+pH9 (Na2CO3 12.5 mM + NaHCO3 25 mM) จากการศึกษาพบว่า ความเค็ม-ด่างในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 ที่ระดับความเค็ม-ด่างแตกต่างกัน 50 mM Na+pH7, 50mM Na+pH8, 50 mM Na+pH9 พบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในด้านความยาวราก, ค่าเฉลี่ย, อัตราการถูกทำลาย, เปอร์เซ็นต์การงอก, ความแข็งแรงของเมล็ด, การลดลงของความสูง และความทนเค็ม ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีความทนต่อความเคลียดภายใต้สภาวะความเค็ม-ด่างที่ระดับ 50 mM Na+pH7 ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 ในด้าน น้ำหนักสด, น้ำหนักแห้ง, ความยาวต้น, เปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ และดัชนีการงอก มีความไวต่อความเค็ม-ด่างในสภาวะที่ไม่รุนแรงในระดับใดได้ ดังนั้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพทนความเค็ม-ด่าง อยู่ที่ 50 mM Na+pH7 ซึ่งทนได้มากกว่าข้าวปทุมธานี 1 ที่ไม่สามารถทนในสภาวะใดได้ อิทธิพลของเกลือโซเดียมคลอไรด์ในความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ต่อการเจริญเติบโตในระยะการงอกของข้าว | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ข้าว (Rice; Oryza sativa L.) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากที่สุดอันดับหนึ่งของโลก ข้าวจัดเป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อสภาวะความเค็มในระยะต้นกล้า โดยสภาวะความเค็มเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง เนื่องจากมีการสะสมของเกลือโซเดียมคลอไรด์ในดิน ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้เกิดสภาวะเครียดเกลือ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตในระยะต้นกล้า ดังนั้นงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นเกลือโซเดียมคลอไรด์ ในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันต่อการงอกของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ 5 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 NaCl 0 mM (ชุดควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 NaCl 25 mM กรรมวิธีที่ 3 NaCl 50 mM กรรมวิธีที่ 4 NaCl 75 mM และกรรมวิธีที่ 5 NaCl 100 mM ผลการทดลองพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีดัชนีการงอก ความทนเค็ม และน้ำหนักสด ที่สามารถทนความรุนแรงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM เปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ เปอร์เซ็นต์การงอก ความแข็งแรงของเมล็ด ค่าเฉลี่ยการงอก ความสูงต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง และการลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM และอัตราการถูกทำลาย สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 75 mM ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 มีเปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด ค่าเฉลี่ยการงอก ความยาวราก และน้ำหนักสด สามารถทนความรุนแรงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM อัตราการถูกทำลาย ความสูงต้น น้ำหนักแห้ง และการลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM และเปอร์เซ็นต์การงอก และความทนเค็ม ไม่สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้นใดเลย ดังนั้นข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพทนเค็มต่อเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM ในขณะที่ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มีศักยภาพทนเค็ม ต่อเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM ข้าว (Rice; Oryza sativa L.) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากที่สุดอันดับหนึ่งของโลก ข้าวจัดเป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อสภาวะความเค็มในระยะต้นกล้า โดยสภาวะความเค็มเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง เนื่องจากมีการสะสมของเกลือโซเดียมคลอไรด์ในดิน ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้เกิดสภาวะเครียดเกลือ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตในระยะต้นกล้า ดังนั้นงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นเกลือโซเดียมคลอไรด์ ในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันต่อการงอกของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวปทุมธานี 1 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ 5 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 NaCl 0 mM (ชุดควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 NaCl 25 mM กรรมวิธีที่ 3 NaCl 50 mM กรรมวิธีที่ 4 NaCl 75 mM และกรรมวิธีที่ 5 NaCl 100 mM ผลการทดลองพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีดัชนีการงอก ความทนเค็ม และน้ำหนักสด ที่สามารถทนความรุนแรงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM เปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ เปอร์เซ็นต์การงอก ความแข็งแรงของเมล็ด ค่าเฉลี่ยการงอก ความสูงต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง และการลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM และอัตราการถูกทำลาย สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 75 mM ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 มีเปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด ค่าเฉลี่ยการงอก ความยาวราก และน้ำหนักสด สามารถทนความรุนแรงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM อัตราการถูกทำลาย ความสูงต้น น้ำหนักแห้ง และการลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM และเปอร์เซ็นต์การงอก และความทนเค็ม ไม่สามารถทนความรุนแรงได้ที่ระดับความเข้มข้นใดเลย ดังนั้นข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพทนเค็มต่อเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM ในขณะที่ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มีศักยภาพทนเค็ม ต่อเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM ผลของเกลือ 5 ชนิด ที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโต และลักษณะ ทางสรีรวิทยาของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 และขาวดอกมะลิ 105 | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ และอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลกแต่ในปัจจุบันประชากรของโลกเพิ่มสูงขึ้นความต้องการอาหารจะเพิ่มขึ้นเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร เนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอ ต่อความต้องการเป็นผลมาจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ประสบปัญหาสภาวะดินเค็มส่งผลต่อ การเจริญเติบโต ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทนเค็มของข้าวพันธุ์ ปทุมธานี 1 และขาวดอกมะลิ 105 ในเกลือ 5 ชนิด ที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโต และลักษณะ ทางสรีรวิทยา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) โดยแบ่งออกเป็น 6 กรรมวิธี (Treatment) กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 น้ำกลั่น (ชุดควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 NaCl ที่ความเข้มข้น 50 mM กรรมวิธีที่ 3 MgCl2 ที่ความเข้มข้น 50 mM กรรมวิธีที่4 CaCl2 ที่ความเข้มข้น 50 mM กรรมวิธีที่5 MgSO4 ที่ความเข้มข้น 50 mM และกรรมวิธีที่ 6 Na2SO4 ที่ความเข้มข้น 50 mM ผลการทดลองพบว่า ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพในการทนเค็มต่อเกลือ NaCl ที่ความเข้มข้น 50 mM อัตราการถูกทำลาย ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด เปอร์เซ็นการงอก เปอร์เซ็นการดูดน้ำ การลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด ความยาวต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง น้ำหนักสด ค่าเฉลี่ยการงอก และความทนเค็ม ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 มีศักยภาพในการทนเค็มเกลือ NaCl ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM อัตราการถูกทำลาย ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด เปอร์เซ็นการงอก เปอร์เซ็นการดูดน้ำ การลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด ความยาวต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง น้ำหนักสด ค่าเฉลี่ยการงอก และความทนเค็ม ดังนั้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพในการทนเค็มเกลือ NaCl ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM ได้ดีกว่าปทุมธานี 1 และเกลือที่มีความรุนแรงต่อข้าว คือเกลือ Na2SO4 ที่ขาวดอกมะลิ 105 สามารถทนได้เพียง 1 ด้าน ในขณะที่ปทุมธานี 1 ไม่สามารถทนความรุนแรงได้ในทุกๆ ด้าน ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ และอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลกแต่ในปัจจุบันประชากรของโลกเพิ่มสูงขึ้นความต้องการอาหารจะเพิ่มขึ้นเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร เนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอ ต่อความต้องการเป็นผลมาจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ประสบปัญหาสภาวะดินเค็มส่งผลต่อ การเจริญเติบโต ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทนเค็มของข้าวพันธุ์ ปทุมธานี 1 และขาวดอกมะลิ 105 ในเกลือ 5 ชนิด ที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโต และลักษณะ ทางสรีรวิทยา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) โดยแบ่งออกเป็น 6 กรรมวิธี (Treatment) กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 น้ำกลั่น (ชุดควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 NaCl ที่ความเข้มข้น 50 mM กรรมวิธีที่ 3 MgCl2 ที่ความเข้มข้น 50 mM กรรมวิธีที่4 CaCl2 ที่ความเข้มข้น 50 mM กรรมวิธีที่5 MgSO4 ที่ความเข้มข้น 50 mM และกรรมวิธีที่ 6 Na2SO4 ที่ความเข้มข้น 50 mM ผลการทดลองพบว่า ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพในการทนเค็มต่อเกลือ NaCl ที่ความเข้มข้น 50 mM อัตราการถูกทำลาย ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด เปอร์เซ็นการงอก เปอร์เซ็นการดูดน้ำ การลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด ความยาวต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง น้ำหนักสด ค่าเฉลี่ยการงอก และความทนเค็ม ในขณะที่ข้าวปทุมธานี 1 มีศักยภาพในการทนเค็มเกลือ NaCl ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM อัตราการถูกทำลาย ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ด เปอร์เซ็นการงอก เปอร์เซ็นการดูดน้ำ การลดลงของความสูงแต่ละเมล็ด ความยาวต้น ความยาวราก น้ำหนักแห้ง น้ำหนักสด ค่าเฉลี่ยการงอก และความทนเค็ม ดังนั้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีศักยภาพในการทนเค็มเกลือ NaCl ที่ระดับความเข้มข้น 50 mM ได้ดีกว่าปทุมธานี 1 และเกลือที่มีความรุนแรงต่อข้าว คือเกลือ Na2SO4 ที่ขาวดอกมะลิ 105 สามารถทนได้เพียง 1 ด้าน ในขณะที่ปทุมธานี 1 ไม่สามารถทนความรุนแรงได้ในทุกๆ ด้าน การประเมินความสามารถในการทนเค็มของพริกพันธุ์การค้า 7 พันธุ์ ในสภาพโรงเรือน | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช พริก เป็นพืชผักที่สำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่ง พริกในประเทศไทยมีหลายชนิด ได้แก่ พริกชี้ฟ้า และพริกขี้หนู เป็นต้น ความเค็มเป็นปัญหาหนึ่งทางด้านการเกษตรของประเทศ เพราะพื้นที่ที่มีความเค็มไม่สามารถทำการเกษตรหรือปลูกพืชเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้เพราะความเค็ม ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นเกลือ โซเดียมคลอไรด์ ที่ระดับความเข้มข้นต่างกัน ต่อการเจริญเติบโตของพริกพันธุ์การค้า 7 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design: RCBD) แบ่งออกเป็น 5 ทรีทเมนต์ ทรีทเมนต์ละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ต้น ได้แก่ 1.เหลืองลูกผสม 2.เขียวหนุ่มลูกผสม 3.เขียวหนุ่ม 4.แดงจินดา 5.หนุ่มขาวลูกผสม 6.กะเหรี่ยง 7.หยวกลูกผสม ทรีทเมนต์ที่ 1 Control (น้ำกลั่น) ทรีทเมนต์ที่ 2 เกลือ NaCl เข้มข้น 25 mM ทรีทเมนต์ที่ 3 เกลือ NaCl เข้มข้น 50 mM ทรีทเมนต์ที่ 4 เกลือ NaCl เข้มข้น 75 mM ทรีทเมนต์ที่ 5 เกลือ NaCl เข้มข้น 100 mM ผลการทดลองพบว่า พริกพันธุ์เหลืองลูกผสม พริกพันธุ์เขียวหนุ่มลูกผสม และพริกพันธุ์เขียวหนุ่ม สามารถทนความรุนแรงของเกลือ NaCl ได้ในระดับความเข้มข้น 50 mM ในพริกพันธุ์แดงจินดา พริกพันธุ์หนุ่มขาวลูกผสม พริกพันธุ์กะเหรี่ยง และพริกพันธุ์หยวกลูกผสม พบว่า สามารถทนความรุนแรงของเกลือ NaCl ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM ดังนั้น พริกพันธุ์เหลืองลูกผสมพริกพันธุ์เขียวหนุ่มลูกผสม และพริกพันธุ์เขียวหนุ่ม มีศักยภาพในการทนเค็ม 50 mM (NaCl) สมควรส่งเสริมให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม พริก เป็นพืชผักที่สำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่ง พริกในประเทศไทยมีหลายชนิด ได้แก่ พริกชี้ฟ้า และพริกขี้หนู เป็นต้น ความเค็มเป็นปัญหาหนึ่งทางด้านการเกษตรของประเทศ เพราะพื้นที่ที่มีความเค็มไม่สามารถทำการเกษตรหรือปลูกพืชเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้เพราะความเค็ม ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นเกลือ โซเดียมคลอไรด์ ที่ระดับความเข้มข้นต่างกัน ต่อการเจริญเติบโตของพริกพันธุ์การค้า 7 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design: RCBD) แบ่งออกเป็น 5 ทรีทเมนต์ ทรีทเมนต์ละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ต้น ได้แก่ 1.เหลืองลูกผสม 2.เขียวหนุ่มลูกผสม 3.เขียวหนุ่ม 4.แดงจินดา 5.หนุ่มขาวลูกผสม 6.กะเหรี่ยง 7.หยวกลูกผสม ทรีทเมนต์ที่ 1 Control (น้ำกลั่น) ทรีทเมนต์ที่ 2 เกลือ NaCl เข้มข้น 25 mM ทรีทเมนต์ที่ 3 เกลือ NaCl เข้มข้น 50 mM ทรีทเมนต์ที่ 4 เกลือ NaCl เข้มข้น 75 mM ทรีทเมนต์ที่ 5 เกลือ NaCl เข้มข้น 100 mM ผลการทดลองพบว่า พริกพันธุ์เหลืองลูกผสม พริกพันธุ์เขียวหนุ่มลูกผสม และพริกพันธุ์เขียวหนุ่ม สามารถทนความรุนแรงของเกลือ NaCl ได้ในระดับความเข้มข้น 50 mM ในพริกพันธุ์แดงจินดา พริกพันธุ์หนุ่มขาวลูกผสม พริกพันธุ์กะเหรี่ยง และพริกพันธุ์หยวกลูกผสม พบว่า สามารถทนความรุนแรงของเกลือ NaCl ได้ที่ระดับความเข้มข้น 25 mM ดังนั้น พริกพันธุ์เหลืองลูกผสมพริกพันธุ์เขียวหนุ่มลูกผสม และพริกพันธุ์เขียวหนุ่ม มีศักยภาพในการทนเค็ม 50 mM (NaCl) สมควรส่งเสริมให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม การปรับปรุงคุณภาพของเมล็ดงาดำที่เสื่อมสภาพด้วยสารจิบเบอเรลลิลและความร้อน | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
งาเป็นพืชทนแล้งที่มีอายุเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลกการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์งาดำที่เพิ่มขึ้นนอกจากทำให้เมล็ดงาดำมีความแข็งแรงลดลงแล้วยังทำให้ความมีชีวิตเมล็ดพันธุ์ลดลงเช่นกันสารละลายจิบเบอเรลลิลสามารถแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์เนื่องจากการกำจัดออกซิเจนได้จากการแตกตัวให้ออกซิเจนแก่เมล็ดพันธุ์ที่ช่วยให้เมล็ดพันธุ์มีการหายใจเพิ่มขึ้นจึงมีผลให้เมล็ดพันธุ์งอกได้เร็วขึ้นดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารละลายจิบเบอเรลลิลและอุณหภูมิในการอบลมร้อนที่เหมาะสมต่อการงอกของการเมล็ดพันธุ์งาดำที่เสื่อมสภาพโดยวางแผนการทดลองแบบ(Completey Randomized Design (CRD) แบ่งออกเป็น7กรรมวิธี (Treatment: T) กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ (Replication: R) ซ้ำละ 50 เมล็ด ใช้สารละลายจิบเบอเรลลิลความเข้มข้น 250ppm 500ppm และ 750ppm และใช้อบลมร้อนด้วยเครื่อง Hot air oven ที่อุณหภูมิ 40°C, 45°C และ 50°C เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง นำเมล็ดงาดำรุ่นเดียวกันไปทดลองตามชุดการทดลองที่ได้กล่าวไปข้างต้น บันทึกข้อมูลเปอร์เซ็นต์ความงอกเปอร์เซ็นต์ต้นกล้าปกติ,ดัชนีการงอก,จำนวนใบ,ความยาวต้น,ความสูงต้น,น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งผลการทดลองพบว่าการอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสมีดัชนีการงอกของเมล็ดงาดำสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่นแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการทดลองครั้งนี้เกิดความคลาดเคลื่อนจึงทำให้การทดลองไม่สำเร็จเนื่องจากเมล็ดพันธุ์งาดำ ตรา สามเอ หมดอายุปี 2563 แต่กลับให้ผลการเจริญเติบโตของต้นงาดำไม่ต่างจากเมล็ดงาดำที่ไม่หมดอายุอาจเกิดผิดพลาดได้หลายปัจจัยเช่นสภาพการมีชีวิตของเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จึงไม่เหมาะสมทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการทดลองนี้จากงานวิจัยนี้แนะนำในอนาคตว่าควรหาสารชนิดอื่นมาทดแทนหรือหรือใช้อุณหภูมิที่ต่ำลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำ และมีความน่าเชื่อถือก่อนจะนำไปเผยแพร่แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาต่อไป
การปรับปรุงคุณภาพของเมล็ดหัวไชเท้าเสื่อมสภาพด้วยโพแทสเซียมไนเตรทและความร้อน | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธนกร วังสว่าง หลักสูตร : แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
หัวไชเท้า (Daikon) เป็นที่นิยมปลูกกันทั่วไปในหลายประเทศ ในประเทศไทยมีปลูกหลายสายพันธุ์ มีประโยชน์และสรรพคุณทางยาหลายอย่าง สามารถรับประทานสดได้ นำมาประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนูการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์หัวไชเท้าที่เพิ่มขึ้นนอกจากทำให้เมล็ดมีความแข็งแรงลดลงแล้วยังมีผลทำให้ความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์ลดลงเช่นกัน เมื่อความแข็งแรงของเมล็ดลดลงต่ำสุด ความเสื่อมของเมล็ดสูงสุด สารละลาย KNO3 สามารถแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์เนื่องจากการจำกัดของออกซิเจนได้ จากการแตกตัวให้ออกซิเจนแก่เมล็ดพันธุ์ ที่ช่วยให้เมล็ดพันธุ์มีการหายใจเพิ่มขึ้นจึงมีผลให้เมล็ดพันธุ์งอกได้เร็วขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารละลาย KNO3 ที่ความเข้มข้นต่างกัน และอุณหภูมิในการอบลมร้อนที่แตกต่างกัน เพื่อหาความเข้มข้นที่เหมาะของสารละลาย KNO3 และอุณหภูมิในการอบลมร้อนที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์หัวไชเท้าที่เสื่อมสภาพ โดยวางแผนการทดลองแบบ (Completely Randomized Design (CRD) แบ่งออกเป็น 7 กรรมวิธี (Treatment: T) กรรมวิธีละ 4 ซํ้า (Replication: R) ซ้ำละ 50 เมล็ด ใช้สารละลายโพแทสเซียมไนเตรทที่ความเข้มข้น 1%, 3% และ 5% และใช้อบลมร้อนด้วยเครื่อง Hot air oven ที่อุณหภูมิ 40°C, 45°C และ 50°C เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง นำเมล็ดหัวไชเท้ารุ่นเดียวกันไปทดลองตามชุดการทดลองที่ได้กล่าวไปข้างต้น บันทึกข้อมูลเปอร์เซ็นต์ความงอก เปอร์เซ็นต์ต้นกล้าปกติ ดัชนีการงอก จำนวนใบ ความยาวต้นและความสูงต้น น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง ผลการทดลองพบว่าการใช้สารละลายโพแทสเซียมไนเตรท ที่ความเข้มข้น 1% มีดัชนีการงอกของเมล็ดหัวไชเท้าสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การทดลองครั้งนี้เกิดความคลาดเคลื่อนจึงทำให้การทดลองไม่สำเร็จ เนื่องจากเมล็ดหัวไชเท้า พันธุ์เอเวอร์เรสท์ ยี่ห้อ TAKII SEED หมดอายุไปตั้งแต่ปี 2557 แต่กลับให้ผลการเจริญเติบโตของต้นหัวไชเท้าไม่ต่างจากเมล็ดหัวไชเท้าที่ไม่หมดอายุอาจเกิดผิดพลาดได้จากหลายปัจจัย เช่น สภาพการมีชีวิตของเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จึงไม่เหมาะสมที่ทำการกระตุ้นให้เมล็ดหัวไชเท้าที่เสื่อมสภาพแล้วกลับมามีชีวิตอีกครั้ง สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดคาดเคลื่อนในการทดลอง จากงานวิจัยนี้แนะนำในอนาคตว่าควรหาสารชนิดอื่นที่มีต้นทุนต่ำมาทดแทน หรือใช้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เมล็ดลดการเสื่อมสภาพและควรทำการทดลองซ้ำเพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำ และมีความน่าเชื่อถือก่อนจะนำไปเผยแพร่แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาต่อไป
|