การศึกษาคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองพันธุ์ตองหนึ่ง (111) ระหว่างเพศผู้และเพศเมีย อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองพันธุ์ตองหนึ่ง ระหว่างเพศผู้และเพศเมีย จำนวน 20 ตัว แบ่งเป็นเพศผู้ 10 ตัวและเพศเมีย 10 ตัว ผลการทดลองพบว่าไก่เพศผู้มีน้ำหนักตัว น้ำหนักซาก เปอร์เซ็นต์ปีก เปอร์เซ็นต์น่องสูงและเปอร์เซ็นต์เท้า สูงกว่าไก่เพศเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ขณะที่เปอร์เซ็นต์อก เปอร์เซ็นต์สะโพก เปอร์เซ็นต์เครื่องในรวม และเปอร์เซ็นต์ซี่โครง ของไก่เพศผู้และเพศเมียไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p≥0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในช่องท้องของไก่เพศเมีย สูงกว่าไก่เพศผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) สำหรับคุณภาพเนื้ออก พบว่าการสูญเสียน้ำขณะประกอบอาหารของไก่เพศผู้มีแนวโน้มสูงกว่า (p=0.07) ขณะที่การสูญเสียน้ำภายหลังจากการแช่เย็นและค่าแรงตัดผ่านเนื้อมีค่าไม่ต่างกัน ส่วนสีของเนื้อ พบว่า b* เพศเมียสูงกว่าไก่เพศผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) มีค่าต่ำในไก่เพศผู้ (p<0.05) ขณะที่ค่า L* ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และค่า a* ของไก่เพศเมียมีแนวโน้มสูงกว่าไก่เพศผู้ จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าไก่เพศผู้มีคุณภาพซากดีกว่าไก่เพศเมีย ส่วนคุณภาพเนื้อและคุณภาพสีไม่แตกต่างจากไก่เพศเมีย การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองพันธุ์ตองหนึ่ง ระหว่างเพศผู้และเพศเมีย จำนวน 20 ตัว แบ่งเป็นเพศผู้ 10 ตัวและเพศเมีย 10 ตัว ผลการทดลองพบว่าไก่เพศผู้มีน้ำหนักตัว น้ำหนักซาก เปอร์เซ็นต์ปีก เปอร์เซ็นต์น่องสูงและเปอร์เซ็นต์เท้า สูงกว่าไก่เพศเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ขณะที่เปอร์เซ็นต์อก เปอร์เซ็นต์สะโพก เปอร์เซ็นต์เครื่องในรวม และเปอร์เซ็นต์ซี่โครง ของไก่เพศผู้และเพศเมียไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p≥0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในช่องท้องของไก่เพศเมีย สูงกว่าไก่เพศผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) สำหรับคุณภาพเนื้ออก พบว่าการสูญเสียน้ำขณะประกอบอาหารของไก่เพศผู้มีแนวโน้มสูงกว่า (p=0.07) ขณะที่การสูญเสียน้ำภายหลังจากการแช่เย็นและค่าแรงตัดผ่านเนื้อมีค่าไม่ต่างกัน ส่วนสีของเนื้อ พบว่า b* เพศเมียสูงกว่าไก่เพศผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) มีค่าต่ำในไก่เพศผู้ (p<0.05) ขณะที่ค่า L* ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และค่า a* ของไก่เพศเมียมีแนวโน้มสูงกว่าไก่เพศผู้ จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าไก่เพศผู้มีคุณภาพซากดีกว่าไก่เพศเมีย ส่วนคุณภาพเนื้อและคุณภาพสีไม่แตกต่างจากไก่เพศเมีย ผลของการเสริมสารละลายแมกนีเซียมต่อคุณภาพซากของไก่กระทง | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การศึกษาผลของการเสริมสารละลายแมกนีเซียมต่อคุณภาพซากไก่กระทง พันธุ์ ROSS 308 เพศผู้ อายุ 1 วัน จำนวน 192 ตัว เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ระยะเวลาในการทดลอง 36 วัน วางแผนการทดลองแบบ T-Test แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 ทรีทเมนต์ๆ 8 ซ้ำๆ คือกลุ่มควบคุม และกลุ่มเสริมแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ได้รับอาหารเหมือนกัน ผลการทดลองพบว่า น้ำหนักมีชีวิตและเปอร์เซ็นต์ซาก ได้แก่ เนื้ออก สันใน สะโพก น่อง ปีกเต็ม แข้งเท้า โครง ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มเสริมสารละลายแมกนีเซียมไม่มีความแตกกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นกลุ่มเสริมสารละลายแมกนีเซียมไม่ส่งผลต่อคุณภาพซากไก่กระทง การศึกษาผลของการเสริมสารละลายแมกนีเซียมต่อคุณภาพซากไก่กระทง พันธุ์ ROSS 308 เพศผู้ อายุ 1 วัน จำนวน 192 ตัว เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ระยะเวลาในการทดลอง 36 วัน วางแผนการทดลองแบบ T-Test แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 ทรีทเมนต์ๆ 8 ซ้ำๆ คือกลุ่มควบคุม และกลุ่มเสริมแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ได้รับอาหารเหมือนกัน ผลการทดลองพบว่า น้ำหนักมีชีวิตและเปอร์เซ็นต์ซาก ได้แก่ เนื้ออก สันใน สะโพก น่อง ปีกเต็ม แข้งเท้า โครง ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มเสริมสารละลายแมกนีเซียมไม่มีความแตกกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นกลุ่มเสริมสารละลายแมกนีเซียมไม่ส่งผลต่อคุณภาพซากไก่กระทง การเปรียบเทียบคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองสายพันธุ์การค้าและไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ตองหนึ่ง | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์ การเปรียบเทียบคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองสายพันธุ์การค้าและไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ตองหนึ่ง ทำการทดลองในไก่เพศผู้ จำนวน 20 ตัว สายพันธุ์ละ 10 ตัว โดยวางแผนการทดลองแบบ T-test for Independent Sample ( T-test ) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ไก่พื้นเมืองสายพันธุ์การค้า และกลุ่มที่ 2 ไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ตองหนึ่ง ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยน้ำหนักรวม เปอร์เซ็นต์อก ปีกรวม และสะโพก ของไก่พันธุ์พื้นเมืองทางการค้าและพันธุ์ตองหนึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ส่วนเปอร์เซ็นต์น่อง เท้า ซี่โครง ไขมันในช่องท้อง ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผลของคุณภาพสี พบว่า ค่าสี L* ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่ค่าสี a* และค่า b* แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของคุณภาพเนื้อ พบว่า เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำจากการแช่เย็น การสูญเสียน้ำจากการแช่แข็ง ค่าแรงตัดผ่านชิ้นเนื้อ มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ขณะที่พันธุ์ตองหนึ่งมีแนวโน้มการสูญเสียน้ำจากการต้มสุกมากกว่าพันธุ์พื้นเมืองทางการค้า ดังนั้นจากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า ไก่พื้นเมืองพันธุ์ตองหนึ่งมีคุณภาพซากชิ้นส่วนสำคัญภายในดีกว่าพันธุ์พื้นเมืองทางการค้าถึงแม้ว่าจะมีน้ำหนัก การเปรียบเทียบคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองสายพันธุ์การค้าและไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ตองหนึ่ง ทำการทดลองในไก่เพศผู้ จำนวน 20 ตัว สายพันธุ์ละ 10 ตัว โดยวางแผนการทดลองแบบ T-test for Independent Sample ( T-test ) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ไก่พื้นเมืองสายพันธุ์การค้า และกลุ่มที่ 2 ไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ตองหนึ่ง ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยน้ำหนักรวม เปอร์เซ็นต์อก ปีกรวม และสะโพก ของไก่พันธุ์พื้นเมืองทางการค้าและพันธุ์ตองหนึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ส่วนเปอร์เซ็นต์น่อง เท้า ซี่โครง ไขมันในช่องท้อง ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผลของคุณภาพสี พบว่า ค่าสี L* ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่ค่าสี a* และค่า b* แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของคุณภาพเนื้อ พบว่า เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำจากการแช่เย็น การสูญเสียน้ำจากการแช่แข็ง ค่าแรงตัดผ่านชิ้นเนื้อ มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ขณะที่พันธุ์ตองหนึ่งมีแนวโน้มการสูญเสียน้ำจากการต้มสุกมากกว่าพันธุ์พื้นเมืองทางการค้า ดังนั้นจากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า ไก่พื้นเมืองพันธุ์ตองหนึ่งมีคุณภาพซากชิ้นส่วนสำคัญภายในดีกว่าพันธุ์พื้นเมืองทางการค้าถึงแม้ว่าจะมีน้ำหนัก การประยุกต์ใช้ข้าวไรซ์เบอร์รี่แทนแป้งข้าวโพดในลูกชิ้นอกไก่ | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์
การประยุกต์ใช้ข้าวไรซ์เบอร์รี่แทนแป้งข้าวโพดในลูกชิ้นอกไก่ โดยศึกษาปริมาณแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ในลูกชิ้นอกไก่ 5 ระดับ ได้แก่ 0, 25, 50, 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ของแป้งข้าวโพด โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design, CRD จากผลการทดลองพบว่าผลการทดสอบแรงตัดผ่านเนื้อสัมผัสที่ การใช้แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ มีค่าแรงตัดผ่านเนื้อสัมผัสสูงกว่ากลุ่มอื่นๆอยู่ที่ 16.79 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ที่อายุการเก็บรักษาที่ 1 วัน และเมื่อทดสอบแรงตัดผ่านเนื้อสัมผัสที่อายุการเก็บรักษาที่ 3, 5 และ 8 วัน การใช้แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ระดับ 25 เปอร์เซ็นต์ มีค่าแรงตัดผ่านเนื้อสัมผัสสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ อยู่ที่ 15.81, 15.85 และ 15.41 ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ผลของแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ทั้ง 5 ระดับ ต่อสีของลูกชิ้นอกไก่ที่อายุการเก็บรักษา 1, 3, 5 และ 8 วัน พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณข้าวไรซ์เบอร์รี่ตามลำดับ ค่าความสว่าง (L*) มีค่าลดลง ค่าสีแดง (a*) มีค่าเพิ่มขึ้น และค่าสีเหลือง (b*) มีค่าลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) วัน ดังนั้นการใช้ข้าวไรซ์เบอร์รี่จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการทำลูกชิ้นอกไก่ เหมาะแก่ผู้ที่รักสุขภาพเพราะจะได้รับประโยชน์จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ และนอกจากนั้นยังได้รับโปรตีนจากอกไก่
ผลของอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มและอุณหภูมิซากต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และคุณภาพเนื้อของไก่กระทง | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์
ศึกษาผลของอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มและอุณหภูมิซากต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และคุณภาพเนื้อของไก่กระทง ใช้ไก่กระทงพันธุ์ ROSS 308 ที่อายุ 45 วัน จำนวน 128 ตัว โดยมีการสุ่มด้วยวิธี Completely Randomized Design (CRD) การทดลองแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 8 ตัว (ทั้งหมด 128 ตัว) โดยกลุ่มที่ 1 ไม่เสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 เสริมสารละลาย อิเล็กโทรไลต์ในน้ำ 0.05 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 3 วัน กลุ่มที่ 3 เสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำ 0.1 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 3 วัน และกลุ่มที่ 4 เสริมสารละลาย อิเล็กโทรไลต์ในน้ำ 0.15 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 1 วัน ผลการทดลองพบว่า การเสริมอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มและผลของอุณหภูมิซากไม่ส่งผลต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของเนื้อไก่กระทง ซากอุ่นและซากเย็น ที่เวลา 0 นาที และที่เวลา 45 นาที เช่นเดียวกับคุณภาพเนื้อ ได้แก่ ค่าสีของเนื้อไก่ (L* a* b*) การสูญเสียน้ำจากการแช่เย็น (Drip loss) การสูญเสียน้ำจากการต้มสุก (Cooking loss) และแรงตัดผ่านเนื้อสัมผัส (Shear fore) แสดงให้เห็นว่าการทดลองการเสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่ม ไม่ส่งผลต่อค่าความเป็นกรด-ด่างและคุณภาพเนื้อของไก่กระทง
ผลของการเสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มต่อคุณภาพเนื้อของไก่กระทง | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์
ศึกษาผลของการเสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มต่อคุณภาพเนื้อของไก่กระทง ใช้ไก่รอส 308 อายุ 35 วัน จำนวน 120 ตัว โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) การทดลองแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 2 ซ้ำๆ 6 ตัว (ทั้งหมด 36 ตัว) โดยกลุ่มที่ 1 ไม่เสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่ม (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 เสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ในน้ำดื่ม 0.05 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 3 วัน และกลุ่มที่ 3 เสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่ม 0.1เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 7 วัน ผลการทดลองพบว่า ค่าสี L* ของกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขณะที่ค่าสี a* และค่าสี b* ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในส่วนของคุณภาพเนื้อพบว่า เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำจากการแช่เย็นที่ 48 ชั่วโมง การสูญเสียน้ำจากการทำละลายและการสูญเสียน้ำหลังจากการปรุงสุก มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ขณะที่กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 1 มีแนวโน้มการสูญเสียน้ำจากการแช่เย็นที่ 24 ชั่วโมงมากกว่ากลุ่มที่ 3 (P=0.08) ส่วนค่าแรงตัดผ่านของชิ้นเนื้อมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้นจากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าการเสริมสารละลาย อิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มของไก่กระทง ส่งผลต่อสีเนื้อทำให้เนื้อมีสีที่เข้มขึ้นและคุณภาพเนื้อมีความนุ่มขึ้นเนื่องจากค่าแรงตัดผ่านชิ้นเนื้อมีค่าที่ต่ำ
ผลของการเสริมสารอิเล็กโทรไลต์ในน้ำดื่มต่อค่า pH ของเนื้ออก และคุณภาพซากของไก่เนื้อ | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์
การศึกษาผลของการเสริมสารอิเล็กโทรไลต์ในน้าดื่มต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของเนื ออกและคุณภาพซากของไก่เนื อ ใช้ไก่เนื อพันธุ์ Ross 308 จ้านวน 120 ตัว เลี ยงโรงเรือนปิด โดยมีการซุ่มน้าหนักเฉลี่ยใกล้เคียงกันในแต่ละคอกวางแผนแบบ CRD แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 2 ซ้า ซ้าละ 6 ตัว (ทั งหมด 24 ตัว) แผนการทดลองคือการเสริมอิเล็กโทรไลต์ในการละลายน้าให้ไก่กินตามระดับคือ กลุ่มที่ 1 ไม่เสริมสารอิเล็กโทรไลต์ในน้าดื่ม และกลุ่มที่ 2 เสริมสารอิเล็กโทรไลต์ในน้าดื่ม ระยะเวลา 7 วัน ผลการทดลองพบว่าการวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 0 นาที และ 45 นาที ของกลุ่มที่ไม่เสริมสารละลาย อิเล็กโทรไลต์และเสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (P>0.05) เช่นเดียวกับน้าหนักซากและเปอร์เซ็นต์ชิ นส่วน ได้แก่ สะโพก น่อง ปีก อก โครงไก่ และเครื่องใน ของกลุ่มที่ไม่เสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์และเสริมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังนั นจากการศึกษาครั งนี ของการเสริมสารอิเล็กโทรไลต์ในน้าดื่มไม่มีผลต่อค่าความเป็นกรด-ด่างของเนื ออกและคุณภาพซากของไก่เนื อ
ผลของการเสริมสารละลายแมกนีเซียมในน้ำดื่มต่อคุณภาพเนื้อหน้าอกของไก่กระทง | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์
ศึกษาผลของการเสริมสารละลายแมกนีเซียมลงในน้ำดื่มต่อคุณภาพเนื้อหน้าอกไก่กระทง ใช้ไก่ ROS 308 เพศผู้ อายุ 1 วัน จำนวน 192 ตัว ระยะเวลาในการทดลอง 36 วัน วางแผนการทดลองแบบ T-Test แบ่งไก่กระทงออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ไม่เสริมแมกนีเซียมในน้ำ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 เสริมแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1ลิตรลงในน้ำดื่ม ผลการทดลองพบว่า การเสริมสารละลายแมกนีเซียมไม่มีผลต่อคุณภาพสี L* a* และ b*ของเนื้ออกไก่กระทง (P>0.05) ส่วนของคุณภาพเนื้ออกไก่ พบว่า เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำจากการแช่เย็น ที่ 24 ชั่วโมง การสูญเสียน้ำจากการแช่แข็ง ที่ 48 ชั่วโมง การสูญเสียน้ำหลังการปรุงสุกและค่าแรงตัดผ่านชิ้นเนื้อไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P>0.05) แสดงให้เห็นว่าการทดลองเสริมสารละลายแมกนีเซียมในน้ำดื่มไม่ส่งผลต่อคุณภาพเนื้อของไก่กระทง
ผลของระยะเวลาในการให้ความร้อนกับเนื้อหมูสดต่อคุณภาพของแหนม | อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ศิริพร นามเทศ หลักสูตร : แขนงวิชาสัตวศาสตร์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการผลิตแหนมโดยให้ความร้อนกับเนื้อหมูดิบด้วยวิธีการนึ่งผ่านความร้อน 80 องศาเซลเซียส (๐C ) ในเวลาที่แตกต่างโดยให้ความร้อนแก่เนื้อหมู 6 ระดับได้แก่ กลุ่มควบคุม, 1 2 3 4 และ 5 นาทีแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) แสดงผลการวิเคราะห์ค่า pH ในแหนมที่ผลิตโดยใช้ความร้อนกับเนื้อหมูดิบที่ระยะเวลาแตกต่างกันพบว่าค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เนื้อหมูผ่านความร้อน 1 และ 2 นาทีอยู่ระหว่าง 4.53 - 4.62 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (pH = 4.4-4.6) ขณะที่การให้ความร้อนตั้งแต่ 3 นาที ขึ้นไปจะทำให้ได้ค่า pH เกินมาตฐานที่กำหนด และเมื่อทำการทดสอบค่าสีโดยกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ให้ความร้อนที่ 1 และ 2 นาที ไม่มีความแตกต่างกัน แต่แตกต่างกับกลุ่มที่ให้ความร้อน 3 4 และ 5 นาที ขณะที่ค่าสีของแหนมในวันที่ 3 หลังจากการหมักพบว่าค่าสี a* และ b* มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตินอกจากนี้ค่า texture profile เป็นค่าที่บอกลักษณะทางกายภาพทางเนื้อสัมผัสของแหนมแสดงให้เห็นว่าการกลุ่มควบคุมและกลุ่มผ่านความร้อนที่ 1 และ 2 นาทีไม่มีความแตกต่างกัน แต่กลุ่มที่ให้ความร้อนที่ 3 4 และ 5 นาที มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ให้ความร้อน1 และ2 นาทีนอกจากนี้ยังทำการตรวจค่าการเจริญเติบของเชื้อ Lactobacillus และเชื้อ Escherichia coli ในแหนมพบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ให้ความร้อน 1 2 3 4 และ 5 นาทีไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการผ่านความร้อนของเนื้อหมูที่เวลา 2 นาทีจึงเหมาะที่ป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคที่อาจปนเปื้อนมากับเนื้อหมูดิบคงรสชาติดั่งเดิมของแหนม
|